ธุรกิจ powerbank

รับทำบัญชี.COM | วิธีดูแล Power Bank ประเภทแบตโรงงานผลิต?

Click to rate this post!
[Total: 272 Average: 5]

Power Bank

ปัจจุบันเป็นเรื่องปกติที่ใครหลายคนนิยมใช้งานมือถือสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตกันมากและเน้นการใช้

แอพหรือบริการต่างๆที่จำเป็นต้องเชื่อมต่อผ่านอินเตอร์เน็ตจึงทำให้อุปกรณ์พกพาเหล่านี้ใช้พลังงานมากขึ้น แบตเตอรี่หมดเร็ว นั้นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไม power bank จึงเป็นอุปกรณ์ที่จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาตรงนี้ที่มีความจำเป็นต้องใช้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นวันนีเราจะไปทำความรู้จักกับ power bank ให้มากยิ่งขึ้นกัน

powerbank

Power Bank ตัวแรกถูกสร้างขึ้นในปี 2544 โดยบริษัทจีนชื่อ Pisen การออกแบบดั้งเดิมคือแบตเตอรี่ AA สองก้อนที่ต่อเข้าด้วยกันเป็นวงจร! เปิดตัวสู่สาธารณะที่งาน Las Vegas International Consumer Electronics Show พาวเวอร์แบงค์ตัวแรกนั้นเทอะทะและมีอายุการใช้งานแบตเตอรี่ที่สั้น ทุกวันนี้ มีการออกแบบที่ซับซ้อนและกะทัดรัดมากขึ้นพร้อมอายุการใช้งานแบตเตอรี่ที่ยาวนานกว่ามาก พาวเวอร์แบงค์สมัยใหม่ส่วนใหญ่สามารถใส่ไว้ในฝ่ามือของคุณและชาร์จสมาร์ทโฟนของคุณได้หลายครั้งก่อนที่แบตเตอรี่จะหมด

วัตถุประสงค์ของ PowerBank 

จุดประสงค์ของพาวเวอร์แบงค์คือการรีชาร์จอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่เมื่อคุณเดินทาง! พาวเวอร์แบงค์อาจมีขนาดเล็กพอที่จะใส่ในกระเป๋าของคุณ หรืออาจใหญ่กว่านี้ด้วยความจุที่มากขึ้นพาวเวอร์แบงค์ใช้สำหรับชาร์จโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต ลำโพง และแม้แต่แล็ปท็อป! หากคุณสามารถเสียบเข้ากับผนังเพื่อชาร์จ โอกาสที่พาวเวอร์แบงค์จะสามารถชาร์จได้

power bank คืออะไร

powerbank หรือเรียกอีกชื่อว่าแบตเตอรี่สำรอง คือ แบตเตอรี่ที่มีการออกแบบให้มีขนาดความจุมากขึ้นหลายๆเท่า เพื่อประโยชน์ในการใช้งานไว้เป็นพลังงานสำรอง โดยนำมาห่อหุ้มด้วยวัสดุกันระเบิดอย่างแน่นหนาพื่อให้สะดวกพกพาในการเดินทางไว้เป็นพลังงานสำรองเพื่อชาร์จกระแสไฟฟ้าให้กับอุปรณ์เลคโทรนิค (เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ด กล้องดิจิตอล) ในกรณีที่แบตเตอรี่หมดพร้อมมีช่องชาร์จกระแสไฟบ้านเข้าตัวแบตเตอรี่สำรอง INPUT และ ช่องจ่ายกระแสไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ OUTPUTเข้าสู่สมาร์ทโฟน แทบเล็ต หรือ อุปกรณ์อิเลคโทรนิคต่างๆ

powerbank

การทำงานของ power bank

powerbank เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เก็บพลังงานสำรองเอาไว้ในตัวเอง โดยผู้ใช้จะต้องชาร์จพลังงานไฟฟ้าให้มันเก็บเอาไว้ก่อนล่วงหน้าก่อนเพื่อสำรองไว้จ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์อื่นได้ ขนาดของมันก็ขึ้นอยู่กับความจุที่ต้องการใช้งาน มีตั้งแต่ที่ใหญ่โตสำหรับติดตั้งไว้ภายในบ้าน หรือขนาดเล็กเน้นพกพาสะดวก การออกแบบ PowerBank โดยพื้นฐานแล้วก็เหมือนกันหมด คือ มีช่องสำหรับเสียบเพื่อชาร์จพลังงานให้ PowerBank, มีช่องสำหรับจ่ายพลังงานออก อาจจะเป็น USB หรือเต้าเสียบปลั๊ก และก็มักจะมีไฟ หรือหน้าจอเพื่อบอกสถานะแบตเตอรี่คงเหลือด้วย

6 วิธีการดูแลรักษา 

อายุการใช้งานของ แบตสำรองแบบ Litium – Ion จะมีอายุประมาณ 300-500 รอบ ส่วนแบบ Litium-Polymer จะอยู่ที่ 600-800 รอบ ดังนั้น หมายความว่า เราสามารถใช้แบตสำรองได้ประมาณ 10เดือน-2 ปี (หากใช้วันละ 1 รอบ)

  1. powerbank จะเสื่อมเร็วถ้าเราต่อ powerbank เข้ากับมือถือ/แทบเล็ต แล้วใช้อุปกรณ์เข้าเน็ต/เล่นเกมส์ไปด้วย ดังนั้นควรปล่อยให้ powerbankจ่ายไฟเข้าอุปกรณ์จนเต็มแล้วถอดปลั๊กออก จึงค่อยใช้งานอุปกรณ์
  2. power bank จะเสื่อมเร็วมากขึ้น ถ้าเราไม่ชาร์ตไฟให้ตัวเขาเต็มอยู่เสมอ หากเห็นว่าสถานะไฟบนตัว powerbank เหลือต่ำกว่า 30% แล้ว ควรหยุดใช้งาน เพราะถ้าขืนคุณหยิบ powerbank ไปจ่ายไฟเข้ามือถือ/แทบเล็ต จนไฟในตัวPowerBank หมดเกลี้ยงคุณจะเห็นอาการ ตายสนิทของ powerbank เร็วมากขึ้นเนื่องจากการสร้างประจุพลังงานใหม่นั้นใช้พลังงานเป็นอย่างมากจึงทำให้แบตของ powerbank เสื่อมเร็ว
  3. power bank เกลียดความร้อน ยิ่งใกล้ความร้อนตัวเซลล์ใน power Bankจะเสื่อมไว ดังนั้นงดวางไว้ในที่ร้อน ควรเก็บ powerbankไว้ในที่เย็นๆ ซึ่งจะสามารถยืดอายุและใช้งานได้นานมากขึ้น
  4. ห้ามทำแบตสำรองตก หรือสัมผัสกับของเหลว เช่น น้ำ เพราะจะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรได้ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไม่ถูกกับน้ำและความชื้น
  5. ห้ามนำแบตสำรองไว้ใกล้ความร้อน เตาไฟ ไมโครเวฟ ฯลฯ หรือ อย่าเอาไฟไปเผาแบตสำรองเล่น เพราะจะทำให้แบตเตอรี่ระเบิด เกิดอันตรายได้
  6. สุดท้าย แบตสำรองบางยี่ห้อ ไม่มีระบบการควบคุมอุณหภูมิความร้อนของตัวเครื่อง ถ้าใช้ติดต่อกันนานเกินไป ความร้อนจากการทำงานอาจทำให้แบตสำรองเสียหายและเสื่อมสภาพลงอย่างรวดเร็วได้ ใช้อย่างพอดีๆ พักบ้างก็ดีเหมือนกัน

3 ประเภทของแบต

1.) ชนิดลิเธียม ไอออน (Li-Ion)

ชนิดลิเธียม ไอออน (Li-Ion) นั้นจะโดดเด่นตรงที่มีความหนาแน่นสูง ทำให้ได้พลังงานความจุแบตสูงในราคาที่ถูก นอกจากนี้ในการใช้งานครั้งแรกก็ไม่จำเป็นต้องผ่านการกระตุ้นไฟก่อนอีกด้วย แต่แบตแบบนี้จะมีอัตราการปล่อยพลังงานต่ำและไม่สามารถผลิตออกมาในรูปแบบอื่นๆ นอกจากแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้าได้ แต่ปัจจุบันก็ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยทำให้แบตมีน้ำหนักเบาลง พกพาง่าย และสามารถชาร์จไฟเพื่อเติมพลังงานกลับลงไปใน powerbank ได่ตลอดเวลาโดยที่ไม่ต้องรอให้พลังงานของแบตลิเธียมไอออนลดต่ำลง เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการ power bank แบตจุสูงแต่ราคาถูก แต่ข้อเสียของแบตเตอรี่ชนิดนี้ก็คือมีการเสื่อมสภาพของเซลล์แบตตลอดเวลาแม้จะไม่ได้ใช้งาน

ชนิดแบต

2.) ชนิดลิเธียม โพลิเมอร์ (Li-polymer)

ชนิดลิเธียม โพลิเมอร์ (Li-polymer) มีลักษณะบางคล้ายๆ การ์ด สามารถผลิตออกมาได้หลากหลายรูปทรง ทำให้สามารถนำไปสร้างสรรค์ powerbank ได้หลากหลายดีไซน์มากกว่า นอกจากนี้ด้วยความที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ ทำให้แบตเตอรี่แบบลิเธียม โพลิเมอร์ใช้งานได้ยาวนาน แบตอึด ปลอดภัยสูงและยังมีน้ำหนักที่เบาแต่ข้อเสียของมันก็คือราคาที่สูงตามไปด้วยนั่นเอง

 3.) ชนิดนิกเกิล เมทัล ไฮไดรต์ (NiMH) 

ชนิดนิกเกิล เมทัล ไฮไดรต์ (NiMH) แบตชนิดนี้นั้นมีเทคโนโลยีเก่าที่สุด มีลักษณะเป็นก้อนแบตเตอรี่เรียงแถวกันเป็นแผง มักพบเห็นได้จากการชาร์จแบตมือถือรุ่นเก่าๆ ปัจจุบันไม่ได้รับความนิยมในการนำมาทำ powerbank เพราะความเก่า และข้อจำกัดที่มากมายของมัน ไม่ว่าจะเป็นการต้องรอให้ใช้งานจนพลังงานหมดแล้วจึงนำกลับมาชาร์จไฟใหม่ได้ หรือจะเป็นความจุที่น้อยกว่าแต่น้ำหนักสูง พกพายาก และยังไม่เพียงพอต่อการชาร์จไฟให้แก็ตเจตรุ่นใหม่ๆ ทำให้ในปัจจุบันเรามักเห็น powerbank จากแบตลิเธียมไอออน และแบตเตอรี่ลิเธียม โพลิเมอร์มากกว่า

ธุรกิจผลิตpower bank

ตัวอย่าง โรงงานผลิต power bank

  1. บริษัท เวเกอร์ อิเล็กทรอนิกส์ (ไทยแลนด์) จำกัด
  2.  บริษัท ซัมอัพ พรีเมี่ยม
  3. บริษัท พรีเมี่ยม เพอร์เฟค จำกัด
  4. บริษัท เก้าพอเพียง พรีเมี่ยม จำกัด
  5. บริษัท เอสเอ็นที ดีไวซ์ จำกัด
  6. บริษัท ไมโครลิงค์ ซิสเต็มส์ จำกัด
  7. บริษัท โมเดิร์นพรีเมี่ยม จำกัด

4 ทริคที่โรงงานควรมี 

1.) มาตราฐานโรงงาน

โรงงานที่ได้รับมาตรฐาน เคล็ดลับอีกอย่างหนึ่งที่จะสามารถทำให้คุณประสบความสำเร็จได้อย่างมาก คือ การที่โรงงานผลิตรองเท้า ของคุณได้รับมาตราฐาน อย่างที่ควรจะเป็น ควรได้รับมาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานโรงงาน GMP. ISO ต่างๆ หรือ ผ่านการรับรองตามกฎหมายของประเภทโรงงานที่ควรจะมี

2.) สามารถแนะนำการสร้างแบรนด์ให้เราได้

การตลาดทุกวันนี้อาศัยที่ความต่างกันมากจริงๆ หลายโรงงานมีสูตรมาตรฐานให้เราเลือกเยอะแยะมากมาย ทำให้เราสามารถใช้เวลากับการโฟกัสเกี่ยวกับการตลาดได้มากขึ้น

3.) ให้คำปรึกษา หรือคำแนะนำที่ดี

เรื่องนี้สำคัญมากเลยครับ เวลาติดต่อโรงงานส่วนใหญ่จะเจอเซลล์ บางคนให้คำแนะนำดีมาก บางคนไม่ให้คำแนะนำเลย แต่บางคนให้คำแนะนำไปถึงเรื่องการวางแผนการตลาด แนะนำเรื่องการขาย การใส่ใจเป็นพฤติกรรมของผู้ให้คำปรึกษาที่แสดงออกด้วยภาษาพูดหรือภาษาท่าทาง ซึ่งบอกถึงความกระตือรือร้นที่จะช่วยเหลือผู้รับคำปรึกษา โดยการแสดงความสนใจ การเห็นความสำคัญ และการให้เกียรติ เพื่อช่วยให้ผู้รับคำปรึกษาเกิดความอบอุ่นใจและไม่รู้สึกห่างเหิน

4.) กำหนดระยะเวลาการผลิตชัดเจน

เรื่องนี้สำคัญไม่แพ้กัน ถ้าเราได้โรงงานที่สร้างความมั่นใจ และกำหนดระยะเวลาการผลิตไม่ได้ อาจทำให้เกิดปัญหา เพราะคุณอาจไม่สามารถวางแผนการตลาดอะไรได้เลย ควรเสร็จทันตามกำหนด เพราะ เรา ต้องมีการวางแผนการผลิตระยะยาว และระยะสั้น ในการทำการตลาด ประเมินความต้องการสินค้าในตลาดช่วงนั้น และที่สำคัญ ต้องมีการจัดสรรงบประมาณการผลิตอีกด้วย

4ทริคโรงงาน

โรงงาน คือ

ตาม พ.ร.บ. โรงงานฉบับแก้ไขใหม่ พ.ศ. 2562 โรงงาน หมายถึง อาคาร สถานที่ หรือยานพาหนะที่ใช้เครื่องจักรมีกำลังรวมตั้งแต่ 50 แรงม้าขึ้นไป หรือใช้คนงาน 50 คน ขึ้นไป สำหรับ ทำ ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบำรุง ทดสอบ ปรับปรุง แปรสภาพ ลำเลียง เก็บรักษา หรือทำลายสิ่งใดๆ

สำหรับผู้ประกอบการที่กำลังจะตั้งโรงงาน สิ่งที่จะต้องรู้ก็คือการขออนุญาตตั้งโรงงานและขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานตามข้อกำหนดของกฎหมาย โดยในปัจจุบันตาม พ.ร.บ. โรงงานฉบับแก้ไขใหม่ พ.ศ. 2562 ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อทำให้การประกอบกิจการโรงงานได้รับความสะดวกและมีความคล่องตัวขึ้น โดยโรงงานขนาดเล็กจะประกอบกิจการง่ายขึ้น โรงงานขนาดใหญ่จะได้รับความสะดวกมาก

ประเภทของโรงงาน

การประกอบกิจการโรงงาน (มาตรา 7) กำหนดแบ่งโรงงานออกเป็น 3 ประเภท ขึ้นอยู่กับความจำเป็นในการควบคุมการป้องกันเหตุเดือดร้อน รำคาญการป้องกันความเสียหาย และการป้องกันอันตรายตามระดับความรุนแรงของผลกระทบที่จะมี ต่อประชาชนหรือสิ่งแวดล้อม คือ

โรงงานจำพวกที่ 1 คือ โรงงานประเภท ชนิด และขนาด ที่สามารถประกอบกิจการโรงงานได้ทันที

  • เป็นโรงงานที่ใช้เครื่องจักรไม่เกิน 20 แรงม้า ไม่ก่อปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมหรือเหตุเดือดร้อนอันตราย เช่น ฟักไข่โดยใช้ตู้อบ ซ่อมรองเท้า ทำเครื่องหนัง ทำขนมจีน ไอศกรีม
  • ผู้ผลิตไม่ต้องขออนุญาต
  • ห้ามรับเหมาก่อสร้างโรงงานในบางพื้นที่
  • ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงฯ และประกาศกระทรวงฯ รวมทั้งออกแบบก่อสร้าง

โรงงานจำพวกที่ 2 คือ โรงงานประเภท ชนิด และขนาด ที่เมื่อจะประกอบกิจการโรงงาน ต้องแจ้งให้ผู้อนุญาตทราบก่อน

  • เป็นโรงงานที่ใช้เครื่องจักรเกิน 20 แรงม้า แต่ไม่เกิน 50 แรงม้า อาจก่อปัญหามลพาหรือเหตุเดือดร้อนรำคาญเล็กน้อยแก้ไขปรับปรุงได้ไม่ยาก เช่น การขุดลอก
  • กรวด ทราย ดิน การลำเลียงหิน กรวด/ทราย/ดิน ด้วยสายพานลำเลียงโรงงานผลิตน้ำดื่ม ไอศกรีม โรงผลิตน้ำแข็งใช้เครื่องจักร ไม่เกิน 50 แรงม้า
  • ผู้ผลิตไม่ต้องขออนุญาต แต่ต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อนทำงาน
  • ห้ามรับเหมาก่อสร้างโรงงานในบางพื้นที่
  • ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวงฯ และประกาศกระทรวงฯ รวมทั้งออกแบบก่อสร้าง
  • เสียค่าธรรมเนียมรายปี

โรงงานจำพวกที่ 3 คือ โรงงานประเภท ชนิด และขนาดที่การตั้งจะต้องได้รับใบอนุญาตก่อนจึงจะ ดำเนินการ

  • เป็นโรงงานที่ไปใช้เครื่องจักรเกิน 50 แรงม้า อาจก่อให้เกิดปัญหามลพิษหรือเหตุเดือดร้อน รำคาญ หรือเหตุอันตรายต้องควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด เช่น โรงงานน้ำตาล
  • โรงงานผลิตกระดาษ โรงงานผลิตสุรา โรงกลั่นน้ำมัน เป็นต้น
  • ผู้ผลิตต้องขออนุญาตก่อนเมื่อได้รับใบอนุญาตแล้วจึงตั้งโรงงานได้
  • ก่อนดำเนินกิจการต้องแจ้งขอประกอบกิจการก่อน
  • ห้ามรับเหมาก่อสร้างโรงงานในบริเวณบางแห่ง
  • ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงฯ และประกาศกระทรวงฯ รวมทั้งออกแบบก่อสร้าง
  • เสียค่าธรรมเนียมรายปี และเสียค่าใบอนุญาตประกอบกิจการ

ประเภทโรงงาน

หมายเหตุ :

  1. โรงงานจำพวกที่ 1, 2, 3 ห้ามรับเหมาก่อสร้างโรงงานในบริเวณบ้านจัดสรรเพื่อการพักอาศัยอาคารชุดพักอาศัยและบ้านแถวเพื่อการพักอาศัย
  2. โรงงานจำพวกที่ 1, 2 ห้ามรับเหมาก่อสร้างโรงงานภายในระยะ 50 เมตร จากเขตติดต่อโรงเรียน สถาบันการศึกษา วัด ศาสนสถาน โรงพยาบาล โบราณสถาน สถานที่ทำงานของหน่วยงานของรัฐ แหล่งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง
  3. แวดล้อมตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ต้องตั้งอยู่ในทำเล และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม มีบริเวณเพียงพอที่จะประกอบกิจการตามประเภทหรือชนิดของโรงงานโดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายเหตุเดือดร้อนรำคาญหรือความเสียหายต่อบุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นด้วย

เครดิต : psptech.co.th / qualitylogoproducts.com

รับทำบัญชี โรงงานผลิต power bank

รับทำบัญชี โรงงานผลิต power bank

Accounting in English (รับทำบัญชี ภาษาอังกฤษ)

We provide accounting services by preparing financial statements in English version. Our specialist team will collect your business's financial information in a strict, and simple manner.

We will issue useful financial statements, accurate, and efficient. You can make business decisions with confidence, and spend less time managing accounting work which is safe and reliable.

Whether you are a small or large business. Our services will be fully responsive to your needs and goals. We will support you in developing and growing your business.

Contact : 084-343-8968 ( Chaniyada )